เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2553 ร.ร.ศิริมาตย์เทวีได้จัดงานประจำปี (วันคริสมาสต์)โดยมีการแสดงของเด็กนักเรียนทุกระดับชั้น น้องใบบัวแสดงในรายการ"รักระเบิด" ส่วนน้องต้นไผ่แสดงรายการ "ลมฝากรัก" เริ่มงานประมาณ17.00น. น้องใบบัวและต้นไผ่แสดงได้ดีมาก ได้เก็บภาพน่ารักๆมาฝาก
<< ภาพประกอบ(จำนวน 29 ภาพ) >>
วันศุกร์ที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2553
วันพุธที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2553
ช๊อปแม่สาย-เที่ยวแม่ฟ้าหลวง-พักแรมแม่สลอง
<< ภาพประกอบ ( จำนวน 68 ภาพ ) >>
วันอังคารที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2553
การดำเนินการตามโครงการพัฒนาสถานีตำรวจเพื่อประชาชนระยะที่ ๓ (๒๒ ธันวาคม ๒๕๕๓)
เมื่อวันที่ ๗ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๓ พลตำรวจเอก วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ได้ประกาศนโยบายผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ออกเป็น ๔ ระยะ คือ
๑. นโยบายเฉพาะหน้าที่ต้องการให้เกิดผลทันทีและต่อเนื่อง
๒. นโยบายเร่งด่วน (ระยะ ๖ เดือน)
๓. นโยบายสำคัญภายในระยะ ๑ ปี
๔. นโยบายภายในระยะ ๓ ปี
ซึ่งจากสถานการณ์ในรอบปีที่ผ่านมาคดีอาญาที่เกิดขึ้นมักจะมีความรุนแรง ซับซ้อน สร้างความสูญเสียสูง และปัญหาอาชญากรรมเฉพาะเรื่อง เช่น ปัญหาการล่วงละเมิดสถาบัน ความขัดแย้งทางการเมือง การกลับมาแพร่ระบาดของยาเสพติด และปัญหาสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ รวมทั้งการปฏิบัติตนไม่เหมาะสมของข้าราชการตำรวจบางราย ส่งผลต่อความเชื่อมั่น ศรัทธา ในการปฏิบัติงานของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ดังนั้น การดำเนินการตามโครงการสถานีตำรวจเพื่อประชาชน (โรงพักเพื่อประชาชน) ระยะที่ ๓ ให้เกิดผลสำเร็จเป็นรูปธรรมนั้น จึงได้กำหนดไว้ในนโยบายเร่งด่วนให้สถานีตำรวจทุกแห่งนำไปดำเนินการให้ได้ผลอย่างเป็นรูปธรรมตามนโยบายที่กำหนดไว้
ผมคิดว่าเรื่องนี้เกี่ยวข้องกับพี่น้องประชาชนที่สมควรรับรู้รับทราบว่าตำรวจเราคิดหรือจะต้องดำเนินการอย่างไรบ้างรวมไปถึงน่าจะุเป็นประโยชน์แก่พี่น้องในการตรวจสอบและติดตามการปฏิบัติงานของตำรวจเราด้วย ผมจึงขอนำรายละเอียดเรื่องนี้มาเผยแพร่ให้ได้รับทราบกันโดยท่านสามารถคลิกดูได้ที่นี่
๑. นโยบายเฉพาะหน้าที่ต้องการให้เกิดผลทันทีและต่อเนื่อง
๒. นโยบายเร่งด่วน (ระยะ ๖ เดือน)
๓. นโยบายสำคัญภายในระยะ ๑ ปี
๔. นโยบายภายในระยะ ๓ ปี
ซึ่งจากสถานการณ์ในรอบปีที่ผ่านมาคดีอาญาที่เกิดขึ้นมักจะมีความรุนแรง ซับซ้อน สร้างความสูญเสียสูง และปัญหาอาชญากรรมเฉพาะเรื่อง เช่น ปัญหาการล่วงละเมิดสถาบัน ความขัดแย้งทางการเมือง การกลับมาแพร่ระบาดของยาเสพติด และปัญหาสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ รวมทั้งการปฏิบัติตนไม่เหมาะสมของข้าราชการตำรวจบางราย ส่งผลต่อความเชื่อมั่น ศรัทธา ในการปฏิบัติงานของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ดังนั้น การดำเนินการตามโครงการสถานีตำรวจเพื่อประชาชน (โรงพักเพื่อประชาชน) ระยะที่ ๓ ให้เกิดผลสำเร็จเป็นรูปธรรมนั้น จึงได้กำหนดไว้ในนโยบายเร่งด่วนให้สถานีตำรวจทุกแห่งนำไปดำเนินการให้ได้ผลอย่างเป็นรูปธรรมตามนโยบายที่กำหนดไว้
ผมคิดว่าเรื่องนี้เกี่ยวข้องกับพี่น้องประชาชนที่สมควรรับรู้รับทราบว่าตำรวจเราคิดหรือจะต้องดำเนินการอย่างไรบ้างรวมไปถึงน่าจะุเป็นประโยชน์แก่พี่น้องในการตรวจสอบและติดตามการปฏิบัติงานของตำรวจเราด้วย ผมจึงขอนำรายละเอียดเรื่องนี้มาเผยแพร่ให้ได้รับทราบกันโดยท่านสามารถคลิกดูได้ที่นี่
<< ด.ต.เฉลิม ศรีนวลวงค์ : รายงาน >>
วันจันทร์ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2553
ช๊อปแม่สาย-เที่ยวแม่ฟ้าหลวง-พักแรมแม่สลอง
<< ภาพประกอบ ( จำนวน 68 ภาพ ) >>
วันศุกร์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2553
ตำแหน่งของตำรวจ
ท่านที่รักครับ กฎหมายตำรวจที่ใช้อยู่ปัจจุบันคือ “พระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๗” มีผลบังคับใช้ตั้งวันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๗ เป็นต้นมา ซึ่งกำหนดเรื่องราวต่างๆ ของตำรวจ ไม่ว่าจะเป็นอำนาจหน้าที่,การจัดระเบียบราชการในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ,ยศ,ตำแหน่ง,เงินเดือน ฯลฯ ครอบคลุมทุกอย่างเลยก็ว่าได้ โดยเรื่องต่างๆ ที่น่าสนใจผมจะทยอยเล่าให้ฟังวันหลัง แต่วันนี้มาเข้าเรื่องที่บอกไว้ก่อนดีกว่าครับ
ปัจจุบันตำรวจเรากำหนดตำแหน่งไว้ ๑๓ ตำแหน่งเรียงลำดับจากใหญ่ไปหาเล็กดังนี้
๑. ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
๒. จเรตำรวจแห่งชาติ และรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
๓. ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
๔. ผู้บัญชาการ
๕. รองผู้บัญชาการ
๖. ผู้บังคับการ และพนักงานสอบสวนผู้เชี่ยวชาญพิเศษ
๗. รองผู้บังคับการ และพนักงานสอบสวนผู้เชี่ยวชาญ
๘. ผู้กำกับการ และและพนักงานสอบสวนผู้ทรงคุณวุฒิ
๙. รองผู้กำกับการ และพนักงานสอบสวนผู้ชำนาญการพิเศษ
๑๐. สารวัตร และพนักงานสอบสวนผู้ชำนาญการ
๑๑. รองสารวัตร และพนักงานสอบสวน
๑๒. ผู้บังคับหมู่
๑๓. รองผู้บังคับหมู่
ทั้ง ๑๓ ตำแหน่งที่พูดถึงนั้นเป็นตำแหน่งหลัก แต่ยังมีตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นด้วยในบางหน่วยงาน ซึ่ง ก.ตร. หรือคำเต็มเรียกว่า “คณะกรรมการตำรวจ” จะเป็นผู้กำหนดโดยเทียบกับตำแหน่งหลักที่พูดถึงนี้ว่าเป็นตำแหน่งใด เช่น พนักงานสอบสวน (สบ ๔) เทียบได้กับตำแหน่งผู้กำกับการ , ที่ปรึกษา (สบ ๑๐) เทียบได้กับตำแหน่งจเรตำรวจและรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เป็นต้น รายละเอียดเรื่องนี้ท่านใดสนใจสามารถเปิดอ่านได้ที่นี่ครับ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2548/00169404.PDF
๒. จเรตำรวจแห่งชาติ และรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
๓. ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
๔. ผู้บัญชาการ
๕. รองผู้บัญชาการ
๖. ผู้บังคับการ และพนักงานสอบสวนผู้เชี่ยวชาญพิเศษ
๗. รองผู้บังคับการ และพนักงานสอบสวนผู้เชี่ยวชาญ
๘. ผู้กำกับการ และและพนักงานสอบสวนผู้ทรงคุณวุฒิ
๙. รองผู้กำกับการ และพนักงานสอบสวนผู้ชำนาญการพิเศษ
๑๐. สารวัตร และพนักงานสอบสวนผู้ชำนาญการ
๑๑. รองสารวัตร และพนักงานสอบสวน
๑๒. ผู้บังคับหมู่
๑๓. รองผู้บังคับหมู่
ทั้ง ๑๓ ตำแหน่งที่พูดถึงนั้นเป็นตำแหน่งหลัก แต่ยังมีตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นด้วยในบางหน่วยงาน ซึ่ง ก.ตร. หรือคำเต็มเรียกว่า “คณะกรรมการตำรวจ” จะเป็นผู้กำหนดโดยเทียบกับตำแหน่งหลักที่พูดถึงนี้ว่าเป็นตำแหน่งใด เช่น พนักงานสอบสวน (สบ ๔) เทียบได้กับตำแหน่งผู้กำกับการ , ที่ปรึกษา (สบ ๑๐) เทียบได้กับตำแหน่งจเรตำรวจและรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เป็นต้น รายละเอียดเรื่องนี้ท่านใดสนใจสามารถเปิดอ่านได้ที่นี่ครับ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2548/00169404.PDF
ต่อไปผมขอแนะนำเรื่องยศของแต่ละตำแหน่งครับว่าตำแหน่งเหล่านี้มียศอะไรกันบ้าง เรื่องนี้ใน พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๗ กำหนดไว้ดังนี้
๑. ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ มียศเดียวครับคือพลตำรวจเอก๒. จเรตำรวจแห่งชาติ และรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ยศพลตำรวจโทถึงพลตำรวจเอก
๓. ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ยศพลตำรวจโท
๔. ผู้บัญชาการ ยศพลตำรวจตรีถึงพลตำรวจโท
๕. รองผู้บัญชาการ ยศพลตำรวจตรี
๖. ผู้บังคับการ และพนักงานสอบสวนผู้เชี่ยวชาญพิเศษ ยศพันตำรวจเอก(พิเศษ) ถึงพลตำรวจตรี (ผมขอทำความเข้าใจคำว่ายศ “พันตำรวจเอก(พิเศษ)” อีกนิดหนึ่งนะครับ คืออันที่จริงยศ “พันตำรวจเอก(พิเศษ)” นี่ไม่มีหรอกแต่เป็นภาษาปากที่ใช้พูดกัน สำหรับยศจริงๆ ก็คือพันตำรวจเอกนั่นแหละแต่เป็นพันตำรวจเอกที่ได้รับอัตราเงินเดือนพันตำรวจเอก(พิเศษ) ครับผม)
๗. รองผู้บังคับการ และพนักงานสอบสวนผู้เชี่ยวชาญ ยศพันตำรวจเอก(พิเศษ)
๘. ผู้กำกับการ และและพนักงานสอบสวนผู้ทรงคุณวุฒิ ยศพันตำรวจโทถึงพันตำรวจเอก
๙. รองผู้กำกับการ และพนักงานสอบสวนผู้ชำนาญการพิเศษ ยศพันตำรวจโท
๑๐. สารวัตร และพนักงานสอบสวนผู้ชำนาญการ ยศร้อยตำรวจเอก,พันตำรวจตรี,พันตำรวจโท
๑๑. รองสารวัตร และพนักงานสอบสวน ยศร้อยตำรวจตรี,ร้อยตำรวจโท,ร้อยตำรวจเอก
๑๒. ผู้บังคับหมู่ ยศสิบตำรวจตรี,สิบตำรวจโท,สิบตำรวจเอก,จ่าสิบตำรวจ,ดาบตำรวจ
๑๓. รองผู้บังคับหมู่ ไม่มียศครับแต่ให้แต่งตั้งจากตำรวจชั้นพลตำรวจ



อ่านมาถึงตรงนี้หลายท่านอาจจะงงๆ ว่า เอ้า หลายตำแหน่งมียศตั้งหลายยศแล้วจะรู้ได้ไงล่ะครับว่ายศนั้นเป็นตำแหน่งอะไรกันแน่ ผมจะเฉลยให้ฟังต่อ แต่จะพูดเฉพาะตำแหน่งที่มีหลายยศนะครับ เช่น จเรตำรวจแห่งชาติ,รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติซึ่งมียศตั้งแต่พลตำรวจโทถึงพลตำรวจเอก คือเป็นแบบนี้ครับ ตำแหน่งที่ว่ามียศนั้นถึงยศนี้นี่น่ะเป็นเรื่องของการแต่งตั้งผู้ที่จะดำรงตำแหน่งสูงน่ะครับว่าถ้าจากตำแหน่งนี้จะเลื่อนหรือรับตำแหน่งสูงขึ้นต้องมียศไม่น้อยกว่ายศไหน ถ้ายศไม่ถึงหรือน้อยกว่าก็แต่งตั้งไม่ได้ เช่น ผู้ที่จะได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งจเรตำรวจแห่งชาติหรือรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาตินั้นจะต้องมียศพลตำรวจโทเสียก่อน (นี่ยังไม่รวมถึงระยะเวลาในการครองตำแหน่ง,อัตราเงินเดือน ฯลฯ อีกจิปาถะนะครับ) ถึงจะได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนี้ได้ ตำแหน่งอื่นๆ ก็เช่นเดียวกัน เมื่อผู้ใดมีคุณสมบัติครบแล้วไม่ว่าจะเป็นยศ,เงินเดือน,ระยะเวลาในการดำรงตำแหน่งที่ผ่านมา ฯลฯ รวมถึง....... (ละไว้ในฐานที่เข้าใจ) และผู้บังคับบัญชาเห็นว่ามีความเหมาะสมที่จะให้ดำรงตำแหน่งสูงขึ้นก็จะแต่งตั้งครับ แล้วทีนี้วงการตำรวจเราน่ะในเวลาแต่งตั้งนั้นทั้งยศ,ตำแหน่ง,เงินเดือน,ระยะเวลาในการดำรงตำแหน่งที่ผ่านมา ฯลฯ จะครบกันหมดแล้ว (บางคนเลยมาตั้งหลายปีด้วยซ้ำไป) เมื่อแต่งตั้งเรียบร้อยแล้วสักพักหนึ่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติก็จะแต่งตั้งว่าที่ยศให้ในกรณีที่ผู้นั้นมียศต่ำกว่ายศสูงสุดของตำแหน่งนั้น เช่น พลตำรวจตรี ก.ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้บัญชาการก็จะได้รับว่าที่ยศเป็น “พลตำรวจโท” เป็นต้น ทั้งนี้เนื่องจากว่ายศสูงสุดของตำแหน่งผู้บัญชาการคือ “พลตำรวจโท” นั่นเอง (ว่าที่ยศนั้นใช้กับข้าราชการตำรวจชั้นสัญญาบัตรซึ่งจะต้องรอรับพระราชโองการโปรดเกล้าฯ พระราชทานยศก่อนจึงจะปลดคำว่า “ว่าที่” ออกเหลือเพียงแต่ยศนั้นๆ ซึ่งผมจะพูดเรื่องว่าที่ยศให้ทราบในโอกาสต่อไป)




เมื่อได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งสูงขึ้นและสำนักงานตำรวจแห่งชาติดำเนินการเรื่องว่าที่ยศเสร็จแล้วเรามาดูกันต่อว่ายศที่ติดอยู่บนบ่านั้นจะเรียกตำแหน่งอย่างไร น่าสนใจนะครับจะได้เรียกได้ถูก (แต่ขอบอกไว้ก่อนนะครับว่าการเรียกตำแหน่งของตำรวจเรานั้นมักจะเรียกคำที่เป็นตำแหน่งหลักมากกว่าไม่ว่าชื่อตำแหน่งอย่างเป็นทางการของตำแหน่งที่เทียบเท่าจะเรียกอะไรก็ตาม) ซึ่งมีดังนี้ครับ
๑. ยศพลตำรวจเอก คือ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ,จเรตำรวจแห่งชาติ,รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
๒. พลตำรวจโท คือ ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติและผู้บัญชาการ
๓. พลตำรวจตรี คือ รองผู้บัญชาการและผู้บังคับการ
๔. พันตำรวจเอก(พิเศษ) คือรองผู้บังคับการ
๕. พันตำรวจเอก คือ ผู้กำกับการ (ระหว่างพันตำรวจเอก(พิเศษ) และพันตำรวจเอกต่างกันและดูตรงไหนว่าใครเป็นใครผมเคยนำเสนเรื่องราวให้ทราบไว้แล้ว หากจำไม่ได้หรือยังไม่ได้อ่านกรุณาคลิกดูที่นี่ได้เลยครับท่่าน http://mrsp2503.blogspot.com/2010/06/blog-post_4814.html )
๖. พันตำรวจโท คือ รองผู้กำกับการและสารวัตร
๗. พันตำรวจตรี คือ สารวัตร
๘. ร้อยตำรวจเอก คือ สารวัตรและรองสารวัตร
๙. ร้อยตำรวจโทและร้อยตำรวจตรีคือ รองสารวัตร
๑๐. ดาบตำรวจ,จ่าสิบตำรวจ ท่านสามารถเรียกยศได้เลยครับ เช่น ดาบตำรวจ (หรือดาบ) นั้นดาบนี้ , จ่าสิบตำรวจ (หรือจ่า) นั้นจ่านี้ สำหรับสิบตำรวจเอก,สิบตำรวจโท,สิบตำรวจตรีนั้นสมัยก่อนเขามักจะเรียกกันว่า “หมู่” ซึ่งมาจากคำว่า “ผู้บังคับหมู่” แต่เดี๋ยวนี้ไม่ค่อยใช้คำนี้กันแล้ว ในวงการผมจะเรียกผู้มียศนี้โดยใช้ชื่อของคนนั้นแทนไปเลย
๒. พลตำรวจโท คือ ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติและผู้บัญชาการ
๓. พลตำรวจตรี คือ รองผู้บัญชาการและผู้บังคับการ
๔. พันตำรวจเอก(พิเศษ) คือรองผู้บังคับการ
๕. พันตำรวจเอก คือ ผู้กำกับการ (ระหว่างพันตำรวจเอก(พิเศษ) และพันตำรวจเอกต่างกันและดูตรงไหนว่าใครเป็นใครผมเคยนำเสนเรื่องราวให้ทราบไว้แล้ว หากจำไม่ได้หรือยังไม่ได้อ่านกรุณาคลิกดูที่นี่ได้เลยครับท่่าน http://mrsp2503.blogspot.com/2010/06/blog-post_4814.html )
๖. พันตำรวจโท คือ รองผู้กำกับการและสารวัตร
๗. พันตำรวจตรี คือ สารวัตร
๘. ร้อยตำรวจเอก คือ สารวัตรและรองสารวัตร
๙. ร้อยตำรวจโทและร้อยตำรวจตรีคือ รองสารวัตร
๑๐. ดาบตำรวจ,จ่าสิบตำรวจ ท่านสามารถเรียกยศได้เลยครับ เช่น ดาบตำรวจ (หรือดาบ) นั้นดาบนี้ , จ่าสิบตำรวจ (หรือจ่า) นั้นจ่านี้ สำหรับสิบตำรวจเอก,สิบตำรวจโท,สิบตำรวจตรีนั้นสมัยก่อนเขามักจะเรียกกันว่า “หมู่” ซึ่งมาจากคำว่า “ผู้บังคับหมู่” แต่เดี๋ยวนี้ไม่ค่อยใช้คำนี้กันแล้ว ในวงการผมจะเรียกผู้มียศนี้โดยใช้ชื่อของคนนั้นแทนไปเลย
มีปัญหาอีกแหละครับว่าบางตำแหน่งมีตั้งหลายยศ แล้วเมื่อเห็นยศเหล่านั้นจะเรียกว่ายังไงดี ยากเหมือนกันนะ (แหม ขนาดตำรวจอย่างพวกผมก็ยังงงๆ เลย เพราะกำลังพลของเราเยอะมากแล้วก็ไม่ได้รู้จักกันทั้งหมด) เอาแบบนี้ก็แล้วกันคือให้ดูที่ยศเป็นหลักแล้วเรียกตามที่ผมบอกนั่นแหละผิดถูกไม่เป็นไร ไม่มีใครถือสาหรอกครับ บางคนกลับชอบซะอีกเช่นตัวเองตำแหน่งสารวัตรยศพันตำรวจโทซึ่งยศนี้มีถึง ๒ ตำแหน่งคือรองผู้กำกับการและสารวัตรแต่พี่น้องเรียกผิดเป็น “รองผู้กำกับการ” ปิดท้ายครับ ที่บอกไปนั้นเป็นการเรียกชื่อตำแหน่งของตำรวจซึ่งเป็นคำพูดแบบเป็นทางการซึ่งบางคนไม่ถนัดและชอบเรียกคำที่เป็นคำปากมากกว่า ผมจึงขอแนะนำการเรียกชื่อตำแหน่งที่มักนิยมเรียกกันดังต่อไปนี้
๑. ผู้บังคับการ เรียก ผู้การ
๒. รองผู้บังคับการ เรียก รองผู้การ
๓. ผู้กำกับการ เรียก ผู้กำกับ
๔. รองผู้กำกับการ เรียก รองผู้กำกับ
ส่วนนอกเหนือจากนี้มักจะเรียกตามชื่อตำแหน่งที่เป็นทางการยกเว้นผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ,รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติและผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติมักจะเรียกว่า ผบ.ตร. (ผอ บอ ตอ รอ) , รอง ผบ.ตร. และ ผู้ช่วย ผบ.ตร.
๑. ผู้บังคับการ เรียก ผู้การ
๒. รองผู้บังคับการ เรียก รองผู้การ
๓. ผู้กำกับการ เรียก ผู้กำกับ
๔. รองผู้กำกับการ เรียก รองผู้กำกับ
ส่วนนอกเหนือจากนี้มักจะเรียกตามชื่อตำแหน่งที่เป็นทางการยกเว้นผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ,รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติและผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติมักจะเรียกว่า ผบ.ตร. (ผอ บอ ตอ รอ) , รอง ผบ.ตร. และ ผู้ช่วย ผบ.ตร.
วันครอบครัวครับ


ยินดีต้อนรับครับผม

สวัสดีครับกระผมดาบตำรวจเฉลิม ศรีนวลวงค์ ยินดีที่มีโอกาสเป็นส่วนหนึ่งของโลกใบเล็กที่สวยงาม ก่อนอื่นขออนุญาตแนะนำตัวก่อนนะครับ ประวัติส่วนตัวโดยย่อดังนี้ครับ
- ด้านการศึกษา
-เข้าเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาที่โรงเรียนเวียงเจดีย์วิทยา(ระหว่างปี 2526-2531)จนกระทั้งประมาณเดือนตุลาคม 2531 ได้สอบคัดเลือกเข้าเรียนหลักสูตรนักเรียนพลตำรวจ สามารถสอบเข้าเรียนได้ โดยเริ่มต้นเรียนตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2532 ซึ่งช่วงระยะเวลาดังกล่าวยังไม่จบการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ซึ่งเหลือระยะเวลาอีกประมาณ เดือนเศษ ด้วยระเบียบของการศึกษาในขณะนั้นกำหนดให้นักเรียนสามารถเรียนได้เพียงโรงเรียนเดียว(ขณะนั้นก็ไม่เข้าใจในรายละเอียดแต่อย่างใด) ซึ่งกระผมได้เรียกเข้าเรียนที่โรงเรียนนักเรียนพลตำรวจภูธร 5 ลำปาง ซึ่งต้องลาออกจากโรงเรียนเวียงเจดีย์อันเป็นที่รัก แต่ก็ได้ขอใบรับรองการศึกษาแล้วเข้าสมัครเรียนที่โรงเรียนการศึกษาผู้ใหญ่เมธีวุฒิกร ใน อ.เมืองลำพูน จนจบการศึกษาระดับมัธยมการศึกษา (กว่าจะจบได้อุปสรรค์เยอะเหลือเกิน)
- จบการศึกษาหลักสูตรนักเรียนพลตำรวจที่โรงเรียนนักเรียนพลตำรวจภูธร 5 ลำปาง ประจำกองร้อยที่ 3 รุ่นที่ 40 ซึ่งมีนักเรียนทั้งหมด จำนวน 6 กองร้อย ๆละ 120 คน รวม 720 คน กระผมสอบได้ลำดับที่ 56
- จบการศึกษาระดับปริญาตรีที่มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เมื่อปี 2543 สาขาวิชา นิติศาสตร์ (กว่าจะจบได้ก็ใช้เวลานานเหมือนกัน)
- การทำงาน
- ปี 2535 ได้รับการแต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่ประจำ สภ.อ.แม่ฟ้าหลวง จว.เชียงราย ในตำแหน่งผู้บังคับหมู่(งานป้องกันปราบปราม)
- ปี 2546 ได้รับการแต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่ประจำ สภ.อ.แม่อ้อ จว.เชียงราย ในตำแหน่งผู้บังคับหมู่(งานจราจร) จนถึงปัจจุบัน
- ครอบครัว

- มีลูกชายสุดหล่อชื่อ รณกฤต ชื่อเล่นต้นไผ่ ลูกสาวแสนสวยชื่อ อิสรียา ชื่อเล่น น้องใบบัว
- ปัจจุบันได้ลงหลักปักฐานที่บ้านป่าต้าก หมู่ที่ 5 ต.สันกลาง อ.พาน จว.เชียงราย
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)